เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Saree Aongsomwang ถึง 8 เหตุผลที่ไม่ควรขึ้นค่ารถเมล์ และขอให้คณะกรรมการขนส่งทางบกทบทวนทันที โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. การพิจารณาเรื่องนี้ขาดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรผู้บริโภค ตัวแทนผู้ใช้บริการรถเมล์ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ฟังเฉพาะเสียงจากรถร่วมขนส่งมวลชนเท่านั้น
  2. ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายการคิดค่าบริการขนส่งมวลชนแบบเทียบสัดส่วนรายได้ขั้นต่ำของประชาชน หรือค่าบริการขนส่งมวลชนสูงสุดต่อวัน ทำให้ประชาชน ผู้บริโภค ต้องคัดค้านการดำเนินการเรื่องนี้เป็นระยะๆ และบริการขนส่งมวลชนเป็นบริการที่รัฐต้องอุดหนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอย่างเป็นธรรมและมีคุณภาพ

3.ไม่มีหลักประกันเรื่องคุณภาพประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งมวลชนในอนาคตจากการขึ้นราคา

  1. การขึ้นราคารถเมล์ครั้งนี้ส่งผลต่อการขึ้นราคาขนส่งมวลชนในรูปแบบอื่นๆ เช่น รถตู้ขนส่งมวลชน เรือโดยสาร รถมินิบัส รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น
  2. สร้างภาระให้กับประชาชนที่สนับสนุนบริการขนส่งมวลชน ซึ่งมีส่วนในการลดปัญหา PM 2.5 ขาดข้อมูลภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนต่อวันในการใช้บริการขนส่งมวลชน
  3. ปัญหาการจัดลำดับการใช้งบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล เช่นรัฐบาลเลือกออกมาตรา 44 ในการสนับสนุนธุรกิจโทรคมนาคมที่มีกำไรในการให้บริการระบบหมื่นล้าน แต่ไม่สนับสนุนกิจการขนส่งมวลชน
  4. ประชาชนไม่มีโอกาสรับทราบ รับรู้ แผนบริการหรือระบบขนส่งมวลชนพึงปรารถนาของผู้บริโภคที่ต้องดารเห็นระบบบัตรโดยสารใบเดียว ระบบการเชื่อมต่อการใช้บริการขนส่งมวลชนของบริการทุกประเภท
  5. ขาดการผลักดันสิทธิของประชาชนในการใช้บริการขนส่งมวลชน เช่น สิทธิในการเข้าถึงป้ายรถเมล์ หรือบริการขนส่งสาธารณะในระยะทาง 500 เมตรทั่วประเทศ เฉกเช่นเดียวกับสิทธิในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม

———————————-

อย่างไรก็ตาม แม้ตอนนี้จะมีการปรับขึ้นของค่ารถเมล์แล้วแต่ยังคงมีการถกถียงกันจากฝ่ายผู้ประกอบการเอง และประชาชนที่ยังต้องใช้รถเมล์ในเดินทางสัญจรกันอย่างเผ็ดร้อน ซึ่งเราหวังว่าเรื่องนี้จะมีทางออกที่ดีให้กับทั้ง 2 ฝ่ายในเร็ววันนี้

 

กดติดตาม เพื่อรับข่าวสารในแวดวงนี้ก่อนใคร 

https://www.facebook.com/busandtruckexpo/

https://line.me/R/ti/p/%40eci6103k

https://www.busandtruckmedia.com/

Advertisement