การกระจายและการขนส่ง (Distribution and Transportation) จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการบริโภค หรือการส่งคืนสินค้าผิดปกติกลับมายังคลังสินค้า รวมถึงการขนย้ายสินค้าไปยังจุดที่จะทำลาย ทำให้องค์การจะต้องคำนึงถึงรูปแบบหรือลักษณะในการกระจายสินค้า รวมถึงหาวิธีการขนส่งในแต่ละประเภทที่เหมาะสมกับตัวสินค้าหรือลักษณะของงาน เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบและเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า รวมถึงการควบคุมต้นทุนที่อันจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยจะต้องสอดคล้องแนวคิดในการลดต้นทุนการกระจายสินค้าและการขนส่งด้วยการดำเนินการตามหลัก 4 R’s ดังนี้ Right Time Right Place Right Condition (Quality & Quantity) และ Right Cost

(Davis Turner photos)

อย่างไรก็ดี ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้การกระจายสินค้าและการขนส่งจะต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่หลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่เพียงพอและการขาดแคลนบุคลากรด้านการขนส่ง ความเข้มงวดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง การเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการเดินทาง (Intermodal Transportation) การเติบโตของธุรกิจออนไลน์/พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce/Online Shopping)
นอกจากนี้ การลดต้นทุนการขนส่งทางถนนซึ่งส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งด้วยรถบรรทุก ดังนั้น จึงมีวิธีในการลดต้นทุนของรถบรรทุก ดังนี้
1. การเลือกต้นทุนรถบรรทุกที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น การเช่า การซื้อ การใช้ผู้ให้บริการขนส่งจากภายนอก (Outsource Fleet)
2. การควบคุมการใช้เชื้อเพลิง (Fuel Controlling) ไม่ว่าจะเป็นแบบตามจริง รายเส้นทาง (Actual Rate) เหมาน้ำมัน รายเส้นทาง (Fixe Rate) เติมเต็มถัง รายวนหรือเมื่อจบงาน (Full Fuel) เป็นต้น
3. หาสาเหตุของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การขโมย-ทุจริตน้ำมัน พฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถ การขาดการดูแลเอาใจใส่รถยนต์ เป็นต้น
4. การใช้ประเภทรถบรรทุกให้เหมาะสมกับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกเล็ก/ขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งรถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น
5. การปรับขนาดรถบรรทุกให้มีขนาดบรรทุกได้เพิ่มขึ้น (Upsize Truck) โดยต้องสอดคล้องกับกฎหมายที่กำหนดในเรื่องพื้นที่การส่งสินค้าและการเข้าถึงพื้นที่
6. ยางทางเลือก (Alternative Tire) ไม่ว่าจะเป็นยางไทย ยางจีน ยางอินเดีย หรือยางเกาหลี อีกทั้งขยายอายุของการใช้ยางด้วยการบำรุงรักษา เช่น ควบคุมแรงดันลมยาง การสลับยาง การตรวจสอบสภาพยาง และการไม่บรรทุกน้ำหนักเกินสมรรถนะของยาง เป็นต้น
7. การลดต้นทุนด้วยการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตารางการเข้าบำรุงยาง การให้บริการบำรุงรักษาจากศูนย์มาตรฐาน การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง การขนส่งเที่ยวกลับ การส่งสินค้าโดยตรงไปยังร้านค้าหรือลูกค้าปลายทางโดยไม่ผ่านศูนย์กระจายสินค้า การจัดทำรายงานการปฏิบัติงาน การจัดตารางเวลาและเส้นทางการเดินรถใหม่ การวางระบบความปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
8. การนำเทคโนโลยีเพื่อการลดต้นทุนของรถบรรทุก (Cost Reduction) อาทิ Fuel Sensor GPS Sensor Mimamori IQ-SAN Routing Optimizer Roadnet Paragon เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยขณะขับขี่โดยติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (ซีซีทีวี) ที่ติดตั้งกับรถยนต์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีอีกหลายชนิดมาช่วยให้การจัดการการขนส่งและกระจายสินค้านั้น สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเลือกอุปกรณ์ที่ดีจะส่งผลต่อการลดของเวลาในการขึ้นและลงสินค้า ลดภาระด้านแรงงาน รวมทั้งให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมเพิ่มมากขึ้น
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่าในการจัดการกระจายสินค้าและการขนส่งยุคใหม่ ได้มีการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน รวมทั้งมีบทบาทที่จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล-บุคคล บุคคล-บริษัท เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล รวมถึงใช้ประกอบกับการตัดสินใจภายในธุรกิจสามารถตัดสินใจภายข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และช่วยติดตามการควบคุมจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้

Advertisement

26 COMMENTS