รมช.อธิรัฐ ติดตามการใช้เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในภาคการขนส่งทางน้ำ พร้อมดันเรือไฟฟ้าเจ้าพระยาใช้เต็มรูปแบบ 23 ลำ ในเดือนสิงหานี้
ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมผ่านแอปพลิเคชั่นซูม ร่วมกับอธิบดีกรมเจ้าท่าและผู้บริหารกรมเจ้าท่า เพื่อติดตามความก้าวหน้าการพัฒนายานพาหนะด้วยพลังงานไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางและรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งได้เริ่มให้บริการในเส้นทางต่างๆ รวมทั้งที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ดังนี้
- เส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา : ตั้งแต่ท่าเรือพระนั่งเกล้าไปถึงท่าเรือสาทร ปัจจุบันให้บริการเรือไฟฟ้าและมีแผนเพิ่มเติมเรือที่ให้บริการ
-เดือนพฤษภาคม เรือให้บริการ 8 ลำ ค่าโดยสาร 20 บ./คน/เที่ยว
-เดือนมิถุนายน เรือให้บริการ 12 ลำ ค่าโดยสาร 20 บ./คน/เที่ยว
-เดือนกรกฎาคม เรือให้บริการ 23 ลำ ค่าโดยสาร 20 บ./คน/เที่ยว
-เดือนสิงหาคม เรือให้บริการ 23 ลำ ค่าโดยสารตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด และเรือท่องเที่ยวอีก 4 ลำ รวมทั้งสิ้น 27 ลำ
- เส้นทางคลองแสนแสบ : ขณะนี้ผู้ประกอบการได้ต่อเรือเหล็กแล้วจำนวน 5 ลำ และอยู่ระหว่างการปรับปรุงเทคโนโลยีแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน คาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปลายปี 64
นอกจากนั้น กทม. ได้พัฒนาเส้นทางส่วนต่อขยายตั้งแต่ช่วงวัดศรีบุญเรืองไปจนถึงมีนบุรี ระยะทาง 11.5 ก.ม. ให้บริการด้วยเรือไฟฟ้าจำนวน 12 ลำ โดยจะเริ่มให้บริการภายในเดือนกันยายน 64 นี้
- เส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม : ปัจจุบันให้บริการเรือไฟฟ้า
-เดือนพฤษภาคม เรือให้บริการ 7 ลำ ไม่จัดเก็บค่าโดยสาร
-เดือนมิถุนายน เรือให้บริการ 8 ลำ ไม่จัดเก็บค่าโดยสาร
- เส้นทางคลองดำเนินสะดวกจ.ราชบุรี : เป็นโครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ปัจจุบันให้บริการจำนวน 3 ลำ และหากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น กรมเจ้าท่ามีแผนเพิ่มจำนวนเรือไฟฟ้า รวมทั้งการขอความร่วมมือประชาชนที่ใช้เรือในการสัญจร ให้ปรับเปลี่ยนจากระบบเครื่องยนต์เป็นระบบไฟฟ้าต่อไป
- เส้นทางคลองอัมพวา จ.สมุทรสงคราม : มีแผนพัฒนาเรือไฟฟ้าเพื่อใช้ในการท่องเที่ยว เพื่อลดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยริมฝั่งคลอง โดยเฉพาะเรื่องของเสียงและเป็นการรักษาสภาพแวดล้อม
- การท่องเที่ยวทางทะเล : ปัจจุบันให้บริการจำนวน 1 ลำ ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เส้นทางท่าเรือสิชลถึงท่าเรือเขาพรายดำ และมีแผนเพิ่มเติมอีก 1 ลำ ภายในสิ้นปี 2564 แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ดีขึ้น ผู้ประกอบการมีแผนเพิ่มจำนวนเรือให้บริการจำนวน 60 ลำ
ท่านรัฐมนตรีช่วยฯ ยังได้เร่งผลักดันโครงการ Taxi Boat : Feeder เพื่อเชื่อมการเดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองแขนงต่างๆ ของ กทม.ให้เป็นระบบเดียวกัน โดยนำเรือไฟฟ้าหรือTaxi Boat มาให้บริการรับส่งประชาชนในคลองแขนง เพื่อเป็นการบริการประชาชนในการเดินทางให้สะดวกยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-
เร่งแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชเหนือเขื่อนเจ้าพระยา
-
เตรียมความพร้อมเร่งแก้ไขปัญหามลพิษทางทะเลจากน้ำมัน
-
คุมเข้มพร้อมตรวจสอบการเคลื่อนย้ายเรือ The Blue Dolphin
-
ชูศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำ ท่าน้ำภาณุรังษี – ตลาดน้อย – เจ้าท่า -ปากคลองสาน -ล้ง1919
-
ปรับปรุงท่าเรือปากเมง จังหวัดตรัง รองรับการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน
-
เร่งปรับปรุงท่าเทียบเรือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2 แห่ง รองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด – 19
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com