เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2564 ราคาน้ำมันดีเซลปรับราคาขึ้นทุกชนิด 30 สตางค์ แน่นอนว่า กลุ่มขนส่งรถบัสและรถบรรทุกได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีผลต่อต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในทันที

หลายคนตั้งคำถามว่า “ทำไม..? ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับลดลง แล้วบ้านเรากว่าจะลดลงให้นั้นใช้เวลาหลายวัน แต่เวลาน้ำมันในตลาดโลกขึ้นราคา วันต่อมากลุ่มค้าน้ำมันปรับขึ้นทันที”

คำตอบที่ได้ก็คือ “กลไกการตลาดโลกเป็นอย่างไร? เราก็ต้องปรับตาม เพราะประเทศไทยไม่ใช่แหล่งกำเนิดน้ำมัน ยังอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่การปรับราคาขึ้น-ลง ก็ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า 1 วันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้วางแผนการเติมก่อนขึ้นราคาในวันถัดไป”

การปรับราคาน้ำมันแต่ละครั้ง มีผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก ดังนั้น ทีมข่าว BUS & TRUCK จึงขอเจาะลึกลงไปว่า ตลอดช่วง 3 เดือน (มิ.ย.-ส.ค.64) ที่ผ่านมา มีการปรับราคาน้ำมัน ขึ้น-ลง ไปแล้วกี่ครั้ง

และจากการสืบค้นไปยังเว็บไซต์ของบางจาก https://www.bangchak.co.th/th/oilprice/historical  จึงทราบว่า มีการปรับราคาไปแล้ว จำนวน 15 ครั้ง แบ่งได้ดังนี้

น้ำมันดีเซล

-ปรับราคาขึ้น จำนวน 8 ครั้ง เพิ่มขึ้น จำนวน 2.90 บาท

-ปรับราคาลง จำนวน 5 ครั้ง ลดลง จำนวน 2.70 บาท

-ราคาคงที่ จำนวน 2 ครั้ง     

น้ำมันเบนซิน 91

-ปรับราคาขึ้น จำนวน 9 ครั้ง เพิ่มขึ้น จำนวน 3.50 บาท

-ปรับราคาลง จำนวน 4 ครั้ง ลดลง จำนวน 2.20 บาท

-ราคาคงที่ จำนวน 2 ครั้ง

NGV                                     

-ปรับราคาขึ้น จำนวน 3 ครั้ง เพิ่มขึ้น จำนวน 1.49 บาท

-ปรับราคาลง จำนวน 0 ครั้ง ลดลง จำนวน 0 บาท

-ราคาคงที่ จำนวน 12 ครั้ง

หมายเหตุ : ตั้งแต่ต้นปี ปรับขึ้น-ลง รวม 48 ครั้ง เช็กข้อมูล ที่นี่ : https://www.bangchak.co.th/th/oilprice/historical 

จะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา มีการปรับราคาน้ำมันมาแล้วมากกว่าการลดราคา นั่นแสดงให้เห็นว่า กลุ่มขนส่งและประชาชนทั่วไป มีภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนเพิ่มขึ้นมากโข แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่า ประเทศไทยไม่ใช่ผู้กำหนดราคาน้ำมัน ซึ่งก็เป็นไปตามภาวะของตลาดโลก…!!!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดย…ยกล้อ

อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่

เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK

เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com

เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com

 

Advertisement