ที่ต้องเปิดประเด็นคุยกันเรื่องนี้ เพราะตั้งแต่เราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตัลอย่างในปัจจุบัน เอาจริงๆ แล้ว หลายคนคงเห็นว่าธุรกิจขนส่งในประเทศไทยเวลานี้ เรียกได้ว่าเกิดการแข่งขันกันอย่างดุเดือด อย่างบริษัทน้องใหม่หลายเจ้าที่ไม่คิดว่าจะมาแรงขนาดนี้ ก็ยังเร่งเครื่องแซงบริษัทของคนไทยที่เคยมีความเก๋าไปแบบหน้าตาเฉย
ทำให้หลายบริษัทต้องปรับตัวเพื่อเอาตัวรอด ต้องไปจับมือกับบริษัทอื่นๆ เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรกันบ้าง ต้องหาวิธีแตกไลน์เพิ่มธุรกิจเข้ามาบ้าง หรือขยายธุรกิจรับคนเข้าทำงานเพิ่มโดยไม่เข้มงวดกับคุณภาพ จนมีเกิดประเด็นให้พูดถึงอยู่หลายครั้งถึงเรื่องการเน้นเอายอดขายมากเกินไปจนหละหลวมเรื่องคุณภาพและการบริการ เช่น การโยนกล่องพัสดุของลูกค้า, การขับรถเร่งทำเที่ยววิ่งจนเกิดอุบัติเหตุ หรือมีการพูดจากับลูกค้าแบบไม่สุภาพ เป็นต้น
( เหตุผลว่าทำไมธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ถึงเกิดใหม่และเติบโตได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน )
ขณะที่ บริษัทขนส่งหลายเจ้า มีประเด็นให้ถกเถียงถึงเรื่องการจ่ายงานที่ไม่เป็นที่น่าพอใจกับรถร่วม หรือมีการปรับลดสวัสดิการของพนักงาน แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงปัญหาภายในเท่านั้น แต่เมื่อมองภาพรวมบริษัทยังเดินหน้าต่อไปได้แบบสวยๆ เพราะลูกค้าเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญในมิตินี้ซักเท่าไหร่
อย่างที่เราได้เกริ่นไปข้างต้น บริบทตอนนี้ของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์อาจมีหลายมิติ จนทำให้ความเชื่อมั่นจากลูกค้าลดลง ซึ่งคำวิจารณ์และข่าวลือต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้เพียงข้ามคืน แต่การเรียกความเชื่อมั่นกลับมานั้นอาจต้องใช้เวลานานพอสมควร
เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว คุณคิดว่าถ้าจะทำธุรกิจขนส่งในเมืองไทย ต้องแบบไหนถึงได้เปรียบครับ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือ “ปลาเร็วกินปลาช้า”
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ
- 5 ข้อดี เมื่อใช้สื่อเฉพาะทางเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ โลจิสติกส์-ขนส่ง
- 10 เส้นทางรวย ด้วยการสร้างอาชีพจาก “รถกระบะ”
- 10 เส้นทางรวยด้วย “รถบรรทุก” เริ่มต้นง่ายทำได้จริง
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com