ปัจจุบันอัตราการเติบโตของธุรกิจ E-commerce ทั่วโลกมีแนวโน้มการเติบโตขึ้นเกินกว่า 40 (อ้างอิง https://www.busandtruckmedia.com/28920/) ประกอบกับการเกิดวิกฤต Covid-19 ขึ้นในต้นปี 2563 ได้ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์ขยายตัว ส่งผลผู้คนหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น หลายธุรกิจมีการปรับตัวมาทำธุรกิจทางออนไลน์กันอย่างต่อเนื่อง ในปี 2020
ขณะที่เจ้าตลาดออนไลน์อันดับต้นๆ ของโลก อย่าง Amazon ก็แสดงให้ยอดขายเห็นว่า การซื้อของออนไลน์กลายเป็น New Normal ในการใช้จ่ายของคนในยุคนี้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ด้วยกันทั้งนั้น เนื่องจากประสบการณ์จากการซื้อของออนไลน์ที่ดี ต้องมาควบคู่กับการขนส่งที่ดี มีมาตรฐาน จึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการขยายตลาดและฐานลูกค้าของบริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ในหลายเจ้า
นี่คือเหตุผลที่ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ยังเกิดใหม่และเติบโตได้ในปัจจุบัน
1.เป็นพื้นฐานการทำให้ธุรกิจต่างๆ เติบโต
เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีปัจจัยหลายอย่าง เพราะในแต่ละตลาดมีการแข่งขันที่สูงมาก การจะทำกำไรสูงสุด และขึ้นเป็นผู้นำเพื่อครองตลาด จึงต้องมีการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับการจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น หากธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งจะมีแผนกขนส่งหรือโลจิสติกส์เอง จะต้องมีการจ้างงานบุคลากรในแผนกนี้เพิ่ม พร้อมกับแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษายานพาหนะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับการใช้บริการของซับไพล์เออที่เป็นบริษัทขนส่งโดยเฉพาะย่อมลดต้นทุนเหล่านี้ได้ ที่สำคัญรูปแบบนี้ยังช่วยลดโอกาสความผิดพลาดในการทำงานได้เป็นอย่างดี เพราะบริษัทขนส่งหรือโลจิสติกส์เหล่านี้ย่อมมีระบบและจัดการที่ดีกว่า
2.สายงานนี้มีอะไรมากกว่าการส่งพัสดุ
ปัจจุบันธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์มีอะไรที่ให้บริการมากกว่าการส่งพัสดุ เพราะผู้ใช้บริการเฉพาะกลุ่มนั้นได้เกิดขึ้นมากมายและแบ่งสายได้อย่างชัดเจน หากใครมองเห็นช่องทางเหล่านี้ก็สามารถเข้าไปตีตลาดได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เช่น บริการขนส่งวัสดุก่อสร้าง, บริการขนส่งสินค้าเกษตร, บริการขนส่งสินค้าควบคุมอุณภูมิ, บริการขนส่งต้นไม้
3.ไม่ต้องมีรถก็เป็นเจ้าของธุรกิจขนส่งได้
บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์หลายเจ้าในปัจจุบันใช้วิธี ขยายธุรกิจโดย การเปิดรับผู้ที่สนใจร่วมทำธุรกิจผ่านการสมัครเป็นตัวแทนหรือแฟรนไชส์ เพียงแค่มีสถานที่พร้อมหรือหน้าบ้านอยู่ในแหล่งชุมชนที่เข้าเกณฑ์ เป็นพื้นที่ให้บริการรับพัสดุและพื้นที่จัดเก็บพัสดุได้ และพร้อมเรียนรู้ระบบและการจัดการขนส่งที่เป็นมาตรฐาน ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจที่บ้านได้โดยที่ไม่ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนมหาศาล ซึ่งตัวอย่างก็มีให้เห็นแล้วตามพื้นที่ชนบท และแหล่งชุมชนต่างๆ
4.ไม่เชี่ยวชาญพัฒนาระบบเองก็จ้างที่ปรึกษาได้
มีผู้ประกอบการหลายรายที่สานต่อทำธุรกิจขนส่งหรือโลจิสติกส์จากวงศ์ตระกูล รุ่นปู่สุ่รุ่นพ่อ รุ่นพ่อสู่รุ่นลูก จริงอยู่ว่าสมัยก่อนเราอาจทำธุรกิจโดยใช้ความเก๋าและประสบการณ์ในการทำงานล้วนๆ แต่กับยุคปัจจุบันถ้ายังดันทุรังทำแบบเดิมโดยที่ไม่ใช้เทคโนโลยีนั้น รับรองว่าเจ๊งแน่นอน
ปัจจุบัน จึงมีบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีขนส่งและโลจิสติกส์แบบครบวงจร (IoT) เกิดขึ้นมากมาย ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบสำหรับแก้ปัญหาสายงานนี้โดยเฉพาะ ซึ่งช่วยวางแผน จัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การจัดการจับคู่รถกับสินค้าและเส้นทางจัดส่ง ติดตามงานขนส่งแบบ Real-time เชื่อมต่อข้อมูลการส่งมอบสินค้า และการวางแผนเส้นทางการวิ่งรถ รวมถึงลำดับจุดจอดในการจัดส่งสินค้า เพื่อช่วยในการจัดรถกับสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เรียกได้ว่าบริหารงานขนส่งได้อย่างสมบูรณ์
5.อานิสงส์จาก E-Commerce
อย่างที่บอกกันก่อนหน้านี้ ว่าการทำธุรกรรมซื้อขายบนอินเทอร์เน็ต ( E-Commerce) ทั่วโลกเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากจาก วิกฤต Covid-19 หลายธุรกิจมีการปรับตัวมาทำตลาดผ่านรูปแบบออนไลน์กันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พฤติกรรมสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้น และมีมีผู้ประกอบการรายย่อยเกิดขึ้นใหม่มากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงเป็นโอกาสดีที่ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์จะเข้าไปรับแรงหนุนจากการตลาดออนไลน์ที่กำลังรุ่งเรืองอยู่ในขณะนี้
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ BUS & TRUCK ยกตัวอย่างมาให้เห็นเพื่อเป็นแนวทางเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ควรพึงระวังไว้ว่า ธุรกิจใดก็แล้วแต่ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น คุณต้องศึกษาหาความรู้อย่างรอบด้านเพื่อรู้จักวิธีป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน และต้องมีการวางแผนที่ดีด้วย
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
- ทำธุรกิจขนส่งในเมืองไทย “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือ “ปลาเร็วกินปลาช้า” ต้องแบบไหนถึงได้เปรียบ
- ส่องปรากฏการณ์ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” ปรับแผนกลยุทธ์ช่วงโควิด-19 รับแรงหนุน E-commerce ทั่วโลกเติบโต
- 5 ข้อดี เมื่อใช้สื่อเฉพาะทางเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ โลจิสติกส์-ขนส่ง
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com