ธุรกิจขนส่งนับเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้ในช่วง 2 ปีของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาจกระทบกับเศรษฐกิจไทยโดยภาพรวมอยู่บ้าง แต่ภาคธุรกิจการขนส่งสินค้ายังถือว่าฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งจะเห็นได้จากการขายสาขาทั้งรูปแบบแฟรนไชส์ และการเปิดสาขาใหม่ของผู้เล่นเอง โดยมีปัจจัยหนุนจาก E-Commerce ซึ่งหลายธุรกิจเองก็มีการปรับตัวมาทำตลาดผ่านรูปแบบออนไลน์กันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พฤติกรรมสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้น และมีผู้ประกอบการรายย่อยเกิดขึ้นใหม่มากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงเป็นโอกาสดีที่ธุรกิจขนส่งสามารถรับอานิสงส์จากการตลาดออนไลน์ที่กำลังเติบอยู่ในขณะนี้
สำหรับการทำธุรกิจขนส่งนั้น ปัจจุบันมีบริษัทขนส่งเอกชนหลายเจ้าได้เปิดรับแฟรนไชน์ หรือเปิดดีลเลอร์เพื่อขยายสาขา ซึ่งรูปแบบนี้ นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่เพราะส่วนใหญ่ทางบริษัทแม่มีการสร้างแบรนด์และทำการตลาดเอาไว้แล้ว ดังนั้นผู้ลงทุนจึงไม่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลและเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงได้อีกด้วย
วันนี้เลยอยากมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะกับการทำธุรกิจขนส่งหรือโลจิสติกส์กันครับ
1.มีบ้านหรือสถานที่ในแหล่งชุมชน
การมีสถานที่หรือกิจการอยู่ในแหล่งชุมชนคือข้อได้เปรียบ เพราะเราไม่ต้องไปลงทุนสร้างสถานที่หรืออาคารขึ้นมาใหม่ ในเบื้องต้นอาจเริ่มต้นจากการมีพื้นที่ให้บริการรับพัสดุ และมีพื้นที่จัดเก็บพัสดุอย่างปลอดภัย มีพื้นที่จอดรถได้สะดวก เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มทำธุรกิจรับ-ส่งพัสดุได้แล้ว
2.เข้า-ออก ได้หลายเส้นทาง
อีกปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจขนส่งเลย คือ นอกจากจะมีสถานที่ที่มาตรฐานแล้ว ควรต้องมีการคมนาคมสะดวก เดินทางได้จากหลากหลายเส้นทาง และสามารถเชื่อมต่อไปยังสถานที่สำคัญอย่างอาคารคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการขนส่งโดยตรง ซึ่งจะทำให้เราจัดการวางแผนเรื่องการเดินทางในในชั่วโมงเร่งด่วนได้ดียิ่งขึ้น
3.ห้างสรรพสินค้า-แหล่งการค้า
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีบริษัทขนส่งเข้าไปแจมกับห้างโมเดิร์นเทรด หรือศูนย์การค้าเยอะมาก นั่นเป็นเพราะเขามองเห็นโอกาสและดีมานด์ในการใช้บริการขนส่ง เนื่องจากพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าบางคนเมื่อสั่งซื้อสินค้าแล้วอยากให้ร้านค้าจัดส่งสินค้าอย่างเร่งด่วน ถ้าเป็นเมื่อก่อนร้านค้าอาจต้องหาเวลาออกมาจัดส่งข้างนอก แต่ปัจจุบัน Pain Point เหล่านี้ถูกตอบโจทย์ด้วยจุดบริการ Drop-Off ของค่ายขนส่งต่างๆ ไปแล้ว เป็นต้น
4.ร้านกาแฟตามปั๊มน้ำมัน
ด้วยไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบันที่ชอบความสะดวกสบาย ดังนั้นเมื่อต้องออกจากบ้านไปสถานที่ใดที่หนึ่งแล้ว สถานที่แห่งนั้นต้องตอบโจทย์ตรงนี้ได้ กรณีนี้เราเห็นการเกิดขึ้นของร้านคาเฟ่ ที่ตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งรูปแบบนี้มีจุดจอดรถและห้องน้ำอยู่แล้ว จึงถือเป็นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีในการขยายเป็นจุดรับส่งพัสดุ เรียกได้ว่าได้คนทำธุรกิจได้ลูกค้า ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย ทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่
…
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ BUS & TRUCK ยกตัวอย่างมาให้เห็นเพื่อเป็นแนวทางเท่านั้น นอกจากนี้การมีคอนเนคชั่นที่กว้างขวาง และการมีทักษะด้านการเจรจาที่ดี สิ่งเหล่านี้ก็อาจทำให้คุณสามารถสร้างโอกาสในการเติบโตได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณควรพึงระวังไว้ว่า ธุรกิจใดก็แล้วแต่ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น คุณต้องวางแผน และศึกษาหาความรู้อย่างรอบด้านเพื่อรู้จักวิธีป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนด้วย
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
- ทำธุรกิจขนส่งในเมืองไทย “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือ “ปลาเร็วกินปลาช้า” ต้องแบบไหนถึงได้เปรียบ
- ส่องปรากฏการณ์ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” ปรับแผนกลยุทธ์ช่วงโควิด-19 รับแรงหนุน E-commerce ทั่วโลกเติบโต
- 5 ข้อดี เมื่อใช้สื่อเฉพาะทางเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ โลจิสติกส์-ขนส่ง
สนับสนุนโดย : NSI นำสินประกันภัย ที่โลจิสติกส์และรถใหญ่ให้ความเชื่อมั่น
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com