หลายครั้งที่เราเห็นข่าวการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากรถบรรทุกวัตถุอันตราย เช่น สารเคมี ก๊าช น้ำมัน รวมถึงวัตถุไวไฟประเภทต่างๆ ก็มักจะก่อให้เกิดความเสี่ยหายรุนแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากกว่าอุบัติเหตุจากรถทุกประเภท นอกจากนี้เวลาเราเดินทางไปไหนมาไหน ก็มักจะเห็นรถบรรทุกติดตั้งถังขนาดใหญ่ไว้ด้านหลังวิ่งกันเป็นจำนวนมาก วันนี้เราเลยอยากชวนพูดคุยเกี่ยวกับพวกสารเคมีเหล่านี้กันครับ เนื่องจากปัจจุบันสารเคมีพวกนี้ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น เราควรต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีเอาไว้ด้วย เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดกับสุขภาพหรือชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเครื่องหมายสากลที่ใช้แสดงสัญลักษณ์เกี่ยวข้องกับสารเคมี ที่ถูกกำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย สามารถพบได้ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย ในคู่มือการใช้สารเคมีของบริษัทผู้ผลิต หรือที่ติดอยู่บนรถบรรทุกสารเคมีแต่ละคันนั้นด้วย
ต่อไปนี้คือประเภทและสัญลักษณ์เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่เห็นอยู่บ่อยครั้ง และความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายของแต่ละประเภท ที่ควรรู้จักเอาไว้
วัตถุระเบิด
1.1-1.3 อาจระเบิด โดยรัศมีการระเบิด 1,600 เมตร หรือมากกว่านั้นถ้าเกิดเพลิงไหม้ และเพลิงไหม้อาจทำให้เกิดก๊าซระคายเคืองก๊าซกัดกร่อนและ / หรือก๊าซพิษจากการเผาไหม้
1.4 อาจระเบิด โดยมีรัศมีการระเบิด 500 เมตร หรือมากกว่านั้นถ้าเกิดเพลิงไหม้ และเพลิงไหม้อาจทำให้เกิดก๊าซระคายเคือง ก๊าซกัดกร่อน และ / หรือก๊าซพิษจากการเผาไหม้
1.5-1.6 อาจระเบิด โดยมีรัศมีการระเบิด 1,600 หรือมากกว่านั้น ถ้าเกิดเพลิงไหม้ และเพลิงไหม้อาจทำให้เกิดก๊าซระคายเคือง ก๊าซกัดกร่อน และ / หรือก๊าซพิษจากการเผาไหม้
2.ก๊าซไวไฟ ก๊าซไม่ไวไฟ และก๊าซพิษ
2.1 มีความไวไฟสูงมาก ภาชนะบรรจุอาจระเบิดได้ ไอระเหยทำให้ระคายเคืองอย่างรุนแรง การสัมผัสกับก๊าซหรือก๊าซเหลว อาจเกิดการไหม้ หรือบาดเจ็บรุนแรง และ / หรือผิวหนังอักเสบจากความเย็นจัด
2.2 ไอระเหยอาจทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะหรือสลบโดยไม่มีการแจ้งเตือน การสัมผัสกับก๊าซเหลวอาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ จากความเย็นจัด
2.3 ก่อให้เกิดความเป็นพิษ ถึงขั้นเสียชีวิต หากสารเจ้าสู่ร่างกายโดยการหายใจหรือซึมผ่านทางผิวหนัง การสัมผัสกับก๊าซหรือก๊าซเหลวอาจเกิดการไหม้ หรือบาดเจ็บรุนแรง และ / หรือผิวหนังอักเสบจากความเย็นจัด
3.ของเหลวไวไฟ
ประเภทนี้มีความไวไฟสูง ความร้อน ประกายไฟ ทำให้เกิดการลุกไหม้ ไอระเหยอาจเคลื่อนตัวไปยังแหล่งกำเนิดไฟ และลุกไหม้ย้อนกลับไปยังภาชนะบรรจุได้
4.ของแข็งไวไฟ
4.1 เมื่อได้รับความร้อน ไอระเหยอาจรวมตัวกับอากาศกลายเป็นส่วนผสมที่ระเบิดได้ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร รวมทั้งตามท่อระบายน้ำทิ้ง ก่อให้เกิดความเป็นพิษ หากสารเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกิน หรือสัมผัสทางผิวหนังอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้
4.2 มีความไวไฟสูงมาก เกิดการลุกไหม้ได้เองหากสัมผัสกับอากาศ การเผาไหม้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และ จะปล่อยฟูม (Fume) ขาวหนาทึบซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง หากสัมผัสกับสารอาจทำให้เกิดการไหม้ที่ผิวหนัง และตาอย่างรุนแรง
4.3 อาจเกิดการลุกไหม้ได้เมื่อสัมผัสกับน้ำหรือความชื้นในอากาศ สารบางชนิดอาจเกิดปฎิกิริยารุนแรง หรือระเบิดเมื่อสัมผัสกับน้ำมีความเป็นพิษสูง เมื่อสัมผัสกับน้ำจะให้ก๊าซพิษ หากหายใจเอาก๊าซเข้าไปอาจเสียชีวิตได้
5.สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
5.1 สารประเภทนี้เป็นตัวเร่งการลุกไหม้ เมื่อเกิดเพลงไหม้ขึ้น อาจทำให้เชื้อเพลิงอื่น ๆ (เช่น ไม้ กระดาษ น้ำมัน ผ้า เป็นต้น) ติดไฟได้ ฟูม (Fume) หรือเศษผงฝุ่นที่เป็นพิษอาจจะสะสมในพื้นที่ที่อับอากาศ
5.2 ถ้าอุณหภูมิสูง สารประเภทนี้จะมีความไว โดยอาจเกิดลุกไหม้ได้เองหากสัมผัสกับอากาศ อาจเกิดก๊าซระคายเคือง ก๊าซกัดกร่อน และ / หรือก๊าซพิษจากการเผาไหม้
6.สารพิษและสารติดเชื้อ
6.1 ก่อให้เกิดความเป็นพิษ หากสารเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกลืนกินหรือสัมผัสทางผิวหนัง อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ การสัมผัสกับสารที่หลอมละลายอาจทำให้เกิดการไหม้ ที่ผิวหนังและตาอย่างรุนแรง
6.2 การหายใจกับการสัมผัสกับสารอาจเป็นสาเหตุทำให้ติดเชื้อ เป็นโรค หรือเสียชีวิตได้
7.วัตถุกัมมันตรังรังสี
หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างการขนส่ง รังสีที่แผ่ออกมาจะมีความเสียงเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ทำงาน เกี่ยวกับการขนส่ง ผู้ปฏิบัติงานกู้ภัยและต่อสาธารณชน เพราะว่าบรรจุภัณฑ์ของสารชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทาน ตามระดับอันตรายของสารอยู่แล้ว ยกเว้นว่ามีการเสียหายที่รุนแรง
8.สารกัดกร่อน
การสัมผัสกับสารอาจทำให้เกิดการไหม้ที่ผิวหนังและตาอย่างรุนแรงได้
9.สารอันตรายเบ็ดเตล็ด
การหายใจเอาสารเข้าไปอาจเกิดอันตรายได้ การหายใจเอาฝุ่นผงของใยหินเข้าไปอาจมีผลให้ปอดถูกทำลาาย กรณีสารอุณหภูมิสูงความร้อนของสารที่ขนส่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายได้
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
*ขนาดของแผ่นป้าย มีขนาดไม่น้อยกว่า 250 x 250 ม.ม โดยมีเส้นขอบในสีเดียวกับ สัญลักษณ์ขนานไปกับขอบทั้ง 4 ด้าน และห่างเข้าไปจากขอบนอก 12.5 ม.ม (ยกเว้นประเภทที่ 7 เส้นขอบใน ห่างจากขอบนอก 5 ม.ม)
*วัตถุอันตราย ประเภทที่ 2-9 จะต้องแสดงหมายเลขสหประชาชาติ ( UN number) เขียนบนแผ่นป้ายสี่ส้มสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูงไม่น้อยกว่า 120 มม. และกว้าง 300มม. พร้อมด้วยขอบสีดำ 10 มม. วางแผ่นป้ายตัวเลขมีความสูงไม่น้อยกว่า 65 มม.
*วัตถุอันตราย เบ็ดเตล็ด ประเภทที่ 9 กรณีเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิ ตั้งแต่ 100 ํC ขึ้นไป หรือของแข็งที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 240 ํC ขึ้นไป ต้องติดเครื่องหมายสารอุณหภูมิสูงด้วย
*ผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตราย ต้องจัดให้มีป้ายแสดงตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ติดไว้ ด้านท้ายรถและด้านข้างตัวรถทั้งสองด้าน
สำหรับคนขับรถบรรทุกวัตถุอันตราย หรือรถบรรทุกทั่วไป ปัจจุบันรัฐได้เล็งเห็นถึงแนวทางเพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุจากการที่รถบรรทุกจอดพักบริเวณไหล่ทาง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตาม พรบ.ทางหลวง และยังเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับ พรบ.ขนส่งทางบก ที่กำหนดให้ผู้ขับขี่รถบรรทุกทุกคนต้องหยุดพักรถทุก 4 ชม. โดยมีโครงการก่อสร้างจุดจอดพักรถบรรทุกที่ให้บริการสาธารณะ และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะผู้ขับขี่รถบรรทุกสามารถจอดพักรถได้อย่างปลอดภัย ช่วยแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุรถชนท้ายรถบรรทุก ที่เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในอดีตได้
อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง ในเวลากลางคืนหรือในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ให้เปิดโคมไฟเล็ก โคมไฟท้ายและไฟส่องป้ายทะเบียนรถเพื่อให้ผู้ขับขี่คันอื่นสังเกตเห็นได้ชัดเจน หากเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ให้พยายามนำรถเข้าไหล่ทางหรือ จอดรถโดยไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมาย สัญญาณฟกะพริบทั้งด้านหน้าและด้านท้ายรถ หรือสัญลักษณ์เตือนที่ผู้ใช้รถคนอื่นสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล และไม่ควรฝ่าฝืนข้อกำหนดหรือระเบียบของรัฐ และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ
ทั้งนี้ หากพนักงานขับรถไม่ปฏิบัติตามมาตรการเพื่อกรป้องกันและระวังอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนขึ้น นอกจากจะมีความผิดตามกฎหมายแล้ว ผู้จอดรถฝ่าฝืนต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นอีกด้วย
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
- สัญญานไฟจากรถบรรทุก เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้
- ขับรถขนส่งอย่างไร ให้ประหยัดน้ำมันที่สุดในยุคแบบนี้
- ดูไว้เป็นตัวอย่าง ขับรถบรรทุกวิ่งทางใกล เหนื่อยแล้วไม่พักก็คงต้องเจอแบบนี้
- 5 ข้อดี เมื่อใช้สื่อเฉพาะทางเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ โลจิสติกส์-ขนส่ง
สนับสนุนโดย : นำสินประกันภัย บริษัทประกันที่คนใช้รถใหญ่ให้ความเชื่อมั่น
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com