ปัจจุบัน Blockchain หรือ เทคโนโลยีบล็อกเชน ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คำว่า “Blockchain” ยังคงถูกพูดถึงกันในแวดวงธุรกิจต่างๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นวงการการเงิน วงการแพทย์ หรือแม้กระทั่งวงการโลจิสติกส์ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้บริโภคไปสู่ความสะดวกสบายมากขึ้นเช่นเดียวกับอิทธิพลของโลกออนไลน์ในขณะนี้
Blockchain คืออะไร ?
Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เชื่อมต่อกัน สามารถเก็บสถิติการทำธุรกรรมได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยไม่มีตัวกลาง ซึ่งหมายความว่าระบบ Blockchain ช่วยเป็นฐานกระจายข้อมูลที่เก็บรักษาบันทึกรายการหรือธุรกรรมต่างๆ เข้าไปเก็บไว้ในบล็อกและไม่สามารกระทำการถเปลี่ยนแปลงย้อนหลังได้ ทำให้ข้อมูลสามารถแชร์ไปยังบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งแต่ละบล็อกยังสามารถระบุเวลาและเชื่อมโยงไปยังบล็อกก่อนหน้านี้ได้ ช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับและมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ Blockchain ถือเป็นระบบฐานข้อมูลที่มีการยืนยันตัวตน จัดการธุรกรรมและบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง แต่มีความโปร่งใส ตรวจสอบง่าย มีความปลอดภัยสูง จึงส่งผลให้เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน และขยายผลมาเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในกิจจกรรมที่ห่วงโซ่อุปทานมีความซับซ้อน เพิ่มมากขึ้นในธุรกิจอื่นๆ ตามไปด้วย
นอกจากนี้ Blockchain ยังเปรียบเสมือนการจัดเก็บข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถแชร์ไปได้เป็นห่วงโซ่ (Chain) โดยที่ทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของของข้อมูลนั้นๆ ดังนั้นเมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ใน Blockchain จึงไม่สามารถปลอมแปลงหรือถูกแก้ไขได้ และสามารถติดตามลำดับการบันทึกข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดได้อย่างโปร่งใส จึงทำให้ยากต่อการทุจริต
Blockchain ดีอย่างไร หากใช้ในวงการโลจิสติกส์ ?
ในขณะที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ซึ่งมีการไหลเวียนของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นจากทั้งสองด้านของเครือข่ายทั้งจากธุรกรรมทั้งในรูปแบบ “B2B และ B2C” ซึ่งข้อดีหรือประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้จากตรงนี้คือ เทคโนโลยีบล็อคเชน สามารถบอกได้ถึงเส้นทางและที่ไปที่มาของสินค้าที่เราสั่งซื้อได้อย่างน่าเชื่อถือ หรือช่วยให้สามารถเห็นทุกขั้นตอนของการส่งสินค้าก่อนที่จะมาถึงมือ ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
ประกอบกับ ปัจจุบันที่หลายธุรกิจกำลังให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะข้อทมูลโดยรวมของการส่งมอบสินค้า ยิ่งบริษัทเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่การติดตามสินค้าทั้งหมดนั้นยิ่งกลายเป็นว่า ยากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น Blockchain จึงเหมาะกับการแก้ปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือหรือที่ไปที่มาของสินค้า ให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับสินค้าได้
ยกตัวอย่าง การที่ผู้ใช้บริการหรือลูกค้าสามารถตรวจสอบทุกการเคลื่อนไหวของสินค้าได้โดยผ่านระบบตรวจสอบและแสดงโดยง่าย ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่มาของสินค้าและการเดินทางของสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นได้ ทั้งยังนำไปสู่การกลับมาใช้บริการหรือซื้อซ้ำได้ในครั้งต่อไปได้เป็นอย่างดี
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
- ขนส่งและโลจิสติกส์ ต้องปรับตัวอย่างไร ? ให้พร้อมสู่ยุค Next Normal
- 5 สิ่งสำคัญ ที่ต้องมีเมื่อคิดที่จะทำธุรกิจขนส่ง
- ทำธุรกิจขนส่งในเมืองไทย “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือ “ปลาเร็วกินปลาช้า”
สนับสนุนโดย : นำสินประกันภัย บริษัทประกันที่คนใช้รถใหญ่ให้ความเชื่อมั่น
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com