กรีนโลจิสติกส์ (Green Logistic) ถือเป็นแนวคิดที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการในมิติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและช่วยประหยัดพลังงาน และเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสเรื่องกรีนโลจิสติกส์ ซึ่งที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ผลักดันและกระตุ้นให้ความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลายประเทศกำลังก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ การบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องดำเนินการภายใต้ภาวการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และการแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้เกิดความพึงพอใจภายใต้การดำเนินงานที่มีต้นทุนรวมต่ำจึงมีความได้เปรียบ ดังนั้น การดำเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และการนำเอาวิธีการจัดการซัพพลายเชนมาประยุกต์ใช้สามารถช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่มมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานของผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และผู้บริโภค ทุกกิจกรรมในซัพพลายเชนที่ส่งผลกระทบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การบริโภค และการจัดการของเสียด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับกรีนโลจิสติกส์ ที่ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมตลอดกระบวนการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด “กรีนโลจิสติกส์” ด้วยเช่นเดียวกัน
ผู้บริโภคมีส่วนสำคัญในการผลักดัน Green Logistic
ขณะที่ ผู้บริโภคเองที่มีจิตสำนึกในการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงถือว่ามีส่วนในการสร้างแรงผลักดันให้กับธุรกิจ ส่งผลให้แนวคิดเรื่องความตระหนักและรับผิดชอบต่อสังคม ได้ถูกกล่าวถึงและนำมาใช้มากขึ้นในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโลจิสติกส์
โดยปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้มีข้อจำกัดทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับกรีนโลจิสติกส์ ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกพยายามที่จะปรับตัว เพื่อลดผลกระทบต้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินงาน เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดทางการค้าที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม แต่สามารถตอบสนองเทรนด์การใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความตระหนักและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน
รัฐไทยหนุนใช้พลังงานทางเลือก
การขนส่งสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ของยานพาหนะ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน ซึ่งการหันมาเลือกใช้พลังงานทางเลือกโดยปรับเปลี่ยนพลังงานที่ใช้ในการขนส่งจากน้ำมันดีเซล เป็นไบโอดีเซลหรือก๊าซธรรมชาติ อย่าง CNG หรือ NGV ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ประหยัดกว่าการใช้น้ำมันมากกว่าครึ่ง
อย่างไรก็ตาม การติดตั้งระบบก๊าซ NGV ผู้ประกอบการอาจต้องมีการวางแผนอย่างละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากระบบ NGV ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง และควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของเครื่องยนต์สถานีบริการ NGV เส้นทางใน การขนส่ง และสุดท้ายคือ ผลตอบแทนการลงทุน ซึ่งการ พิจารณาถึงองค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้ผู้ประกอบการเห็นถึง ความเป็นไปได้และผลตอบแทนการลงทุน
ดังนั้น การเลือกใช้พลังงานทางเลือก จึงเป็นช่องทางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพพร้อมกับลดต้นทุนค่าขนส่งและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าด้วย ปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนต่างให้ความสำคัญ พยายาม ที่จะผลักดันพลังงานทางเลือกหลากหลายรูปแบบออกมาเพื่อ รองรับความต้องการของผู้บริโภค อาทิเช่น กระทรวงพลังงานมีนโยบายส่งเสริมให้ใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้น โดยมีแผนในการพัฒนาพลังงานทดแทน และผลักดันการใช้พลังงานทดแทนในภาคขนส่ง เช่น การส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล และการส่งเสริมการใช้ก๊าซ ธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกด้วยวิธีอื่น ๆ อาทิ กรมการขนส่งทางบกมีการลดภาษีป้ายรายปีให้ครึ่งหนึ่ง สำหรับรถบรรทุกที่ใช้ NGV ขณะที่ภาคเอกชนเองก็ได้สนับสนุนนโยบายพลังงานทางเลือกของประเทศโดยจะเห็นได้จากกลุ่มธุรกิจขนส่งที่ได้นำระบบ CNG มาใช้สำหรับรถบรรทุก และสนับสนุนให้ปรับปรุงเครื่องยนต์ให้สามารถใช้เชื้อเพลิง CNG โดยมีการทยอยเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการขยายตัวของสถานีบริการ CNG ตามเส้นทางที่วิ่งขนส่งอีกด้วย
สำหรับแนวทางการมุ่งสู่กรีนโลจิสติกส์ (Green Logistic) ถือเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับในการบริหารระบบโลจิสติกส์ไปสู่การพัฒนา และสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ในขณะนี้มีความท้าทายด้วยมาตรการการทางการค้าและกติกาในรูปแบบต่าง ๆ ที่เข้มข้นขึ้นตามเทรนด์ของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
- Green Logistics ปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจขนส่งต้องมี
- จับตา 6 เทรนด์สำคัญ ที่จะกำหนดอนาคตธุรกิจโลจิสติกส์ปี 65
- BEST Express รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าขนส่งพัสดุด่วนเจ้าแรก
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com