ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 จากที่มีการซื้อ-ขายหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับออนไลน์อยู่แล้ว ทำให้เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ หนึ่งในรูปแบบธุรกิจออนไลน์นั่นคือ Cross Border E-Commerce ที่มีการเติบโตและก้าวกระโดด โดยเฉพาะในจีน ที่มีสถิติเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นวันนี้ Bus&Truck จะพามาทำความรู้จักกับ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน หนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจของชาว SME
Cross Border E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจการค้าออนไลน์ที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศไปยังเขตปลอดอากร โดยผ่านกฎระเบียบพิเศษของทางศุลกากร ซึ่งเป็นวิธีการนำเข้าที่สะดวกและใช้เอกสารน้อยกว่าการนำเข้าแบบทั่วไป ดังนั้นธุรกิจแบบ Cross Border E-Commerce จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน
รูปแบบการขนส่งสำหรับ Cross Border E-Commerce จากประเทศไทยไปยังประเทศจีน นั้น ประกอบด้วย 3 รูปแบบหลัก ได้แก่
– Bonded Warehouse Model แบบ B2B2C เป็นการนำเข้าสินค้าปริมาณมากไปยังประเทศจีน และเก็บไว้ในคลังทัณฑ์บน เพื่อรอคำสั่งซื้อจากลูกค้า จากนั้นจึงทำการ หยิบ แพ็คและจัดส่งไปยังปลายทาง
– Direct Shipment แบบ B2C เป็นการเก็บรักษาสินค้าไว้ที่คลังในประเทศไทย หลังจากได้รับคำสั่งซื้อ จึงดำเนินการนำสินค้าเข้าไปยังประเทศจีน ในปริมาณไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อของผู้ซื้อจีน
– Direct Shipment แบบ Personal Use การนำเข้าวิธีนี้ จะมีกระบวนการไหลของสินค้าคล้ายคลึงกับแบบที่ 2 เพียงแต่อาจเคร่งครัดน้อยกว่า เช่น ไม่ต้องผ่านกระบวนการ CIQ
การนำเข้าแบบที่ 3 นี้ จะมีการเสียภาษีนำเข้าตามอัตราปกติ แต่หากมูลค่าภาษีไม่เกิน 50 RMB จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องชำระ
เปรียบเทียบรูปแบบการนำเข้าผ่านนโยบาย Cross Border E-Commerce ของประเทศจีน

ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการ SME มากมายที่ลงทุนในตลาดจีนเยอะมากขึ้น ช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนนั้นช่วยลดจำนวนพ่อค้าคนกลางในห่วงโซ่อุปทาน สามารถกระจายสินค้าไปสู้ผู้บริโภคได้โดยตรง และเป็นอีกแนวทางที่ลดความยุ่งยากในการนำเข้าสินค้าไปยังประเทศจีนอีกด้วย อาทิ การขึ้นทะเบียนผู้นำเข้าสินค้า เป็นต้น ในส่วนของผู้ประกอบการ SME รายใหม่ที่ต้องการส่งออกสินค้ายังไปยังประเทศจีนนั้น อาจจะต้องลองตลาดจีนก่อนว่าสินค้าของคุณได้รับความนิยมหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้สามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายกว่าการนำเข้าแบบทั่วไป แต่สุดท้ายควรศึกษานโยบายและข้อกำหนดแต่ละพื้นที่ก่อนตัดสินใจ ผู้ประกอบการ SME รายใหม่สามารถลองเข้าไปคำนวนราคาค่าบริการเพื่อง่ายต่อการวางแผนและควบคุมต้นทุนของธุรกิจได้ที่ Price Calulation ของ SCG ได้
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก: chengdu.thaiembassy.org, scglogistics.co.th
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
- Reverse กระบวนการของความซับซ้อนในโลกโลจิสติกส์
- รถบรรทุกเฉพาะกิจ รถเพื่อการพาณิชย์ที่ตอบโจทย์ทุกกิจการพิเศษ
- มาดูความแตกต่างระหว่าง ศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้า (Distribution Center and Warehousing Center)
โดย…เทลเลอร์
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com