ปัจจุบันมีการขนส่งหลากหลายรูปแบบทั้งการส่งอาหาร การส่งสินค้า หรือพัสดุต่าง ๆ แต่ก็ยังมีการขนส่งอีกหนึ่งรูปแบบที่ทุกครั้งที่มีการจัดส่งต้องอาศัยความชำนาญและความว่องไวในการจัดส่งและต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษซึ่งก็คือ Live Animals & Pets หรือ การขนส่งสิ่งมีชีวิต โดยหลัก ๆ จะใช้การขนส่งโดยเครื่องบินเป็นหลักเพื่อให้สิ่งมีชีวิตไปถึงปลายทางอย่างปลอดภัย โดยมีกฎเหล็กคือ สัตว์เลี้ยงต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วยหรือบาดเจ็บ ไม่มีอันตราย สะอาด ไม่มีกลิ่น ไม่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ และเจ้าของสัตว์เลี้ยงควรพาสัตว์เลี้ยงไปรับการตรวจสุขภาพจากสัตวแพทย์รวมไปถึงฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนนำขึ้นเครื่อง ควรงดให้อาหารสัตว์เลี้ยงก่อนเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการอาเจียน
ขั้นตอนการขนส่งสัตว์เลี้ยงและสิ่งมีชีวิตที่ควรต้องรู้
- ขอใบอนุญาตการส่งออกสัตว์ ผู้ส่งของออกต้องดำเนินการขออนุญาตส่งออกสัตว์หรือแบบ สป.5 หรือ สป.6 (ตามแต่ประเภทของสัตว์ที่ส่งออก) รวมถึงขอใบอนุญาตนําสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร (ร. 9) และหนังสือรับรองสุขภาพ และหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) (หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ขึ้นอยู่กับความต้องการของ ประเทศปลายทางซึ่งผู้ออกจะต้องนำเงื่อนไขการรับรองที่ต้องการมาหารือกับสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ช่วยเหลือในการตรวจสอบโรคสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่กําหนดให้ถูกต้อง)
- ติดต่อจองระวางสินค้ากับสายการบินให้เรียบร้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ส่งของออกสินค้าว่าต้องการ ใช้บริการสายการบินใด
- ลงทะเบียนการใช้ระบบ e-Customs ได้ที่ทำการศุลกากรทั่วประเทศ สำหรับการลงทะเบียน ณ เขตปลอดอากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถดำเนินการได้ที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ชั้น 2 อาคารสำนักงานศุลกากร ตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (BC-1) โทร 0-2134-1232
- ส่งข้อมูลใบขนสินค้า ผู้ส่งของออกสามารถส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก ได้ 4 ช่องทาง ได้แก่
- ผู้ส่งของออกส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกด้วยตนเอง
- ผู้ส่งของออกมอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Custom Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน
- ผู้ส่งของออกใช้เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) ในการส่งข้อมูล โดยสามารถติดต่อ Counter Services ได้ที่ชั้นลอย ศูนย์อาหาร อาคาร BC-2 & P2 และที่อาคาร AO 1-4 เพื่อส่งข้อมูลใบขนสินค้าและข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้า
- ผู้ส่งของออกใช้บริการส่งข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ฝ่ายบริการศุลกากร ส่วนบริการศุลกากร 2 อาคาร CE ชั้น 1 โดยผู้ส่งของออกยื่นรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับใบขนสินค้า พร้อมบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง และชําระค่าธรรมเนียมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร
- ผ่านพิธีการส่งออก ให้ผู้ส่งของออกหรือตัวแทนแสดงใบกำกับการขนย้ายสินค้าทางอากาศยานพร้อมใบอนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์ ออกนอกราชอาณาจักร (ร.9) (และหรือใบอนุญาต CITES ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ป่าที่ต้องการส่งออก) รวมถึงหนังสือรับรองสุขภาพ และหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) ให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีข้อมูลอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะดำเนินการ ดังนี้
- กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) เจ้าหน้าที่ศุลกากรลงลายมือชื่อ ประทับตราชื่อ และวันเดือนปี ในใบกำกับการขนย้ายสินค้าทางอากาศยาน
- กรณีเปิดตรวจ (Red Line) ระบบจะกำหนดชื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อเปิดตรวจสินค้า ตามระเบียบและกฎหมายศุลกากร เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสินค้าถูกต้องครบถ้วนแล้วเจ้าหน้าที่ จะลงลายมือ ประทับตราชื่อ และวันเดือนปี ในใบกำกับการขนย้ายสินค้าทางอากาศยาน
เมื่อผ่านกระบวนการข้างต้นแล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะคืนใบกำกับการขนย้ายสินค้าให้ผู้ส่งของออกหรือตัวแทนเพื่อ นำสัตว์ไปที่ยังคลังสินค้า และดำเนินการตรวจชั่งน้ำหนักเพื่อรับบรรทุกต่อไป
เงื่อนไขการขนส่งสิ่งมีชีวิต
- สุขภาพของสิ่งมีชีวิตจะต้องไม่ป่วยหรือเป็นโรค ต้องได้รับการดูแลระหว่างการขนส่งเป็นอย่างดี และห้ามรับขนส่งสัตว์ที่กำลังท้องแก่
- กรงที่ใช้ขนส่งสัตว์ต้องเหมาะสมกับชนิดของสัตว์นั้น ๆ ต้องสะอาดและกันน้ำ รั่วซึม ตลอดจนง่ายต่อการขนถ่ายพร้อมทั้งติดป้าย “สัตว์มีชีวิต”
- อาหารที่นำมาเพื่อเลี้ยงดูสัตว์จะต้องรวมอยู่ในน้ำหนักที่ใช้คิดค่าระวางสินค้า
- การขนส่งสัตว์มีชีวิตจะต้องมีการทำสำรองระวางบรรทุกไว้ล่วงหน้า ตลอดเส้นทางบิน
- สัตว์มีชีวิตจะนำมารวมกับสินค้าอื่น ๆ ภายใต้ใบตราส่งสินค้าชุดเดียวกันไม่ได้
- การขนส่งสัตว์มีชีวิตจะต้องมี “ใบตรวจสุขภาพสัตว์ ” “ใบสำแดงสัตว์มีชีวิต” และ ใบอนุญาตอื่นๆ สำหรับสัตว์บางประเภทตามที่ระบุไว้ในระเบียบว่าด้วยการขนส่ง สัตว์ มีชีวิต
เพื่อย่นระยะเวลาในการขนส่ง การขนส่งสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งมีชีวิตจึงนิยมขนส่งทางเครื่องบินเป็นหลักเพราะมีความรวดเร็วและปลอดภัยมากที่สุด อีกทั้งในประเทศไทยยังมีสายการบินที่ได้รับอนุญาตให้สามารถขนส่งสัตว์เลี้ยงไปต่างประเทศได้ เช่น การบินไทย สายการบินนกแอร์ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โดยจะต้องโหลดใต้ท้องเครื่องอย่างเดียว ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงขึ้นไปในห้องโดยสารโดยเด็ดขาด ซึ่งแต่ละสายการบินก็มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ผู้ขนส่งควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและรอบคอบเพื่อที่จะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
เพราะการขนส่งที่ดี รวดเร็วและปลอดภัยย่อมพาสินค้าไปถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกับรถบรรทุก Mercedes-Benz สุดยอดนวัตกรรมใหม่จากเยอรมนี แข็งแรง เปี่ยมประสิทธิภาพ และทรงพลัง พร้อมจะให้คุณสัมผัสสมรรถนะเครื่องยนต์ที่เหนือระดับ สร้างความประทับใจให้การขนส่งของคุณอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยการขับขี่แบบอิสระ คล่องตัว แข็งแกร่ง เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพจาก Maxcrane
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก :
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
- Same Day Delivery มิติใหม่ของธุรกิจการขนส่งที่จะมาแทน Next Day Delivery
- ตอบโจทย์ธุรกิจการขนส่งยุคใหม่ด้วย Door to Door Services
- รู้จักกับ Last Mile Delivery ไมล์สุดท้ายของการขนส่ง
- สร้างศักยภาพการขนส่งให้แข็งแกร่งขึ้น ด้วย Delivery Robots
โดย…เวโย
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com