Poly-Fuel

Poly-Fuel เชื้อเพลิงทางเลือกที่ถูกนำมาเป็นพลังงานใหม่ที่ใช้ในการขนส่งและวิ่งรถทั่วไป เชื้อเพลิงทางเลือกได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้รถ นักลงทุน ลูกค้า รวมถึงซัพพลายเชน ซึ่งกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ มีการเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงดีเซลทั่วไปและหันมาใช้เชื้อเพลิงที่ลดคาร์บอนต่ำลง เพื่อตระหนักถึงสังคมในปัจจุบันมากขึ้น

Poly-Fuel เป็นเชื้อเพลิงที่มาจากแหล่งเชื้อเพลิงที่หลากหลายที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับรถเชิงพาณิชย์จำนวนมากที่ขับบนท้องถนน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการคำนึงถึงการลดการปล่อยมลพิษในระยะยาว แน่นอนว่าต้องมีการแก้ปัญหาว่าจะเริ่มจากตรงไหนและควรพิจารณาอะไรบ้าง

ในขณะเดียวกันปัจจุบันก็มีการหันมาใช้พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้นด้วย แต่อย่าลืมว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะการขนส่งบางประเภทไม่เหมาะกับพลังงานไฟฟ้าเสมอไป ส่วนใหญ่จะติดที่ข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง

Poly-Fuel

Poly-Fuel เชื้อเพลิงทางเลือกที่มาจากขยะพลาสติก

Poly-Fuel เป็นเชื้อเพลิงน้ำมันดิบที่เกิดจากการใช้กระบวนการไพโรไรซิสในการผลิตเชื้อเพลิง ซึ่งได้มาจากขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นแนวทางใหม่ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของขยะพลาสติกล้นได้อย่างยั่งยืน โดยที่ขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้จะถูกแปลงเป็นน้ำมันดิบเพื่อมาใช้ในการขนส่ง 75% และเปลี่ยนเป็นก๊าซ 25% เพื่อใช้ขับเคลื่อนในกระบวนการผลิตน้ำมัน นับว่าเป็นเป็นวิธีแก้ปัญหาในระยะยาวที่น่าสนใจมากและเป็นทางเลือกใหม่ที่เหมาะกับธุรกิจขนส่งอีกด้วย

สำหรับกองรถขนส่งที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงทางเลือกนี้จะต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง?

  1. สำรวจกองรถขนส่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงทางเลือก ต้องสำรวจก่อนว่ายานพาหนะเดิมมีการใช้เชื้อเพลิงอะไรมาก่อน สามารถเปลี่ยนมาใช้ Poly-Fuel ได้หรือไม่ ดังนั้นควรทำข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับตัวรถอย่างละเอียด อาทิ ประเภทของยานพาหนะคืออะไร เชื้อเพลิงเดิมใช้อะไร ใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันเท่าไร ระยะทางเฉลี่ยต่อวันเท่าไร มีอายุการใช้งานนานหรือไม่ การสำรวจข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะทำให้วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังสามารถพิจารณาได้ว่ายานพาหนะของคุณมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนมาใช้ Poly-Fuel ได้หรือไม่

  1. สร้างมาตรฐานการปล่อยมลพิษ

อย่างที่ทราบกันดีว่าการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้เลย โดยเริ่มจากการวัดค่าคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากการขนส่ง ซึ่งตัวเลขที่ได้สามารถคำนวณได้ด้วยตนเองหรือใช้โปรแกรมการคำนวณก็ได้ แต่จะต้องบันทึกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามความคืบหน้าของปริมาณคาร์บอนในแต่ละเดือนและปีต่อ ๆ ไป

  1. การประสานงานกับองค์กรและคนขับที่น่าเชื่อถือ

การประสานงานกับองค์กรและคนขับ โดยปกติทั่วไปแล้วคนขับที่ทำงานนี้ มักจะได้รับมอบหมายให้ดูแลยานพาหนะอยู่แล้ว ดังนั้นควรบอกให้คนขับรถขนส่งเข้าใจในการทำงานและศึกษาเชื้อเพลิงชนิดนี้ด้วย นอกจากนี้ควรติดต่อกับองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนที่ดูแลเรื่องเชื้อเพลิงโดยตรง เพื่อให้พวกเขาสามารถดำเนินการและแนะนำขั้นตอนการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงใหม่

สามขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการ องค์กร รวมไปถึงผู้ขับขี่กองรถขนส่งเข้าใจใน Poly-Fuel มากขึ้นและนำมาดำเนินการเพื่อปรับใช้กับยานพาหนะได้ หากมีการใช้เชื้อเพลิงใหม่นี้มากขึ้นในอนาคต แน่นอนว่าจะมีการปล่อยมลพิษน้อยลงมากขึ้น นับว่าเป็นการพัฒนาไปอีกขั้นของวงการขนส่ง และเป็นการลดการปล่อยมลพิษในระยะยาวที่หลายภาคส่วนควรตระหนักถึงโลกใบนี้ในแบบจังจริงสักที

 

อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมจาก: polyfuelllc.com

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

โดย…เทลเลอร์

อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่

เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK

เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com

เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com

 

Advertisement