Just in time หรือภาษาไทยเรียกว่าการผลิตแบบทันเวลาพอดี เป็นเทคนิคที่บริษัทในญี่ปุ่นคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้มีการทำงานได้ทันเวลาได้แก่ ผลิตและส่งสินค้าให้ทันขาย ส่งชิ้นส่วนการผลิตหรือโครงรูปการผลิตให้ทันกับความต้องการของสายการผลิตแต่ละสาย เป็นกลยุทธ์ที่ต้องการลดปริมาณสินค้าคงคลังให้เหลือน้อยที่สุด
ในการจัดการสินค้าคงคลังมีความสำคัญมากสำหรับธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงและใช้เวลานาน นั่นคือเหตุผลที่หลาย ๆ บริษัททั่วโลกลงทุนกับระบบ Inventory Management System (ระบบที่ไม่มีการเก็บสินค้าในคลังมากเกินไป แต่ก็ไม่น้อยจนของขาด) เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ รวมถึงทำให้คลังสินค้าทำงานได้ง่ายขึ้นและแน่นอนว่า Just-in-Time คือหนึ่งในระบบนี้
Just-in-time (JIT) จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจมีสมดุลระหว่างความต้องการของลูกค้า วัตถุดิบและความต้องการการผลิต แต่ต้องมีกระบวนการทางซัพพลายเชนที่สมบูรณ์แบบมากเพื่อให้ดำเนินการได้ตามขั้นตอน ดังนั้นต้องค่อย ๆ ศึกษาธุรกิจที่ทำเหมาะกับการจัดการสินค้าคงคลังแบบ just-in-time หรือไม่
JIT มีประโยชน์อย่างไร
– ลด deadstock การผลิตมากเกินความต้องการของตลาด ทำให้เกิดการสะสมของสินค้าที่ขายไม่หมด ซึ่ง JIT จะช่วยลดการผลิตที่เกินความจำเป็น
– ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสินค้าคงคลัง เก็บเท่าที่พอขายให้ลูกค้าทันเวลาและเพียงพอดีที่สุด
– กระแสเงินสดดีขึ้น เพราะไม่ต้องลงเงินก้อนใหญ่ไปการซื้อสินค้ามาสต๊อก
– ควบคุมการผลิตได้มากขึ้น มีการคาดการณ์ที่แม่นยำที่เกี่ยวกับความต้องการการผลิต ทำให้มีความยืดหยุ่น และควบคุมกระบวนการผลิต
JIT มีความเสี่ยงอย่างไร
– เสี่ยงที่สินค้าจะขาดตลาด การคาดการณ์ที่แม่นยำจะช่วยลดความเสี่ยงได้ แต่ก็มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน
– รบกวนกระบวนการอื่น ๆ ในซัพพลายเชน เพราะหากไม่สามารถทำได้ตามแผนและเวลาที่วางไว้ ส่งผลต่อทุก ๆ กระบวนการ
– การคาดการณ์ความต้องการของตลาดต้องแม่นยำ เพราะถ้าหากคาดการณ์ไว้น้อยไป สินค้าขาดตลาด อาจทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อสินค้าของคู่แข่งได้
6 ขั้นตอนของการทำธุรกิจแบบ Just-In-Time
- วางแผนพัฒนาแผนการผลิตสินค้า เช่น ปริมาณสินค้าที่คุ้มค่าที่จะผลิตเท่าไหร่ แล้วใช้เวลาในการผลิตเท่าไหร่ ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือกระบวนการที่ใช้เวลาแต่ไม่ได้สร้างมูลค่า
- สื่อสารให้คนในองค์กรทราบ แน่นอนว่าทุกคนต้องเข้าใจทิศทางขององค์กรไปในทางเดียวกัน จะทำให้การทำงานราบรื่นขึ้น
- รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบระดับสินค้าคงคลังในปัจจุบัน เพื่อให้แน่ใจว่ามีข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับระดับสต๊อกปัจจุบัน
- สื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชน แชร์ข้อมูลซึ่งกันและกัน แจ้งสถานการณ์ต่าง ๆ กันโดยไม่ปิดบังนั้นเป็นสิ่งจำเป็น
- สร้างระบบส่งสัญญาณ ต้องสร้างสัญญาณที่แจ้งเตือนว่าสินค้ากำลังจะหมดสต๊อก ถึงเวลาเติมสต๊อก เป็นต้น
- จัดทำ KM (Knowledge Management) สม่ำเสมอเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นและควรทำข้อมูลเก็บไว้ เพื่อให้ผู้ที่มารับช่วงต่อสามารถเริ่มงานได้ง่ายขึ้นด้วย
การทำธุรกิจแบบ Just-In-Time ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็สามารถทำได้หากมีการศึกษาเพิ่มเติม การทำธุรกิจแบบนี้นอกจากจะอาศัยความมีวินัยแล้วนั้น ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมด้วย หากใครที่สนใจที่จะทำ แต่ยังไม่แน่ใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการทำคลังสินค้าว่า ควรจะเริ่มอย่างไร ปรับปรุงตรงไหน สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของ SCG Logistics ได้เพราะที่นี่มีทีมงานบริหารคลังสินค้าคุณภาพที่พร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบวิธีการที่เหมาะสมที่สุดให้กับลูกค้าอีกด้วย
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก: scglogistics.co.th
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
- ขับรถใหญ่เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อม เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- Last Mile Robots สุดยอดเทคโนโลยีการขนส่งไมล์สุดท้าย
- รู้จักกับรูปแบบการขนส่งยอดนิยมในประเทศไทย
โดย…เทลเลอร์
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com