ในการขับรถมีหลายครั้งที่คนขับเกิดความเครียดขณะขับรถ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากรถติด การขับรถที่นานเกินไปจนสายตาล้า เมื่อยกับการขับรถนาน ๆ ติดต่อกันทั้งคืน หรือ ต้องขับรถให้ทันเวลาเพราะกลัวส่งของล่าช้า ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเครียดได้ ถึงขนาดที่บางคนมีอาการซึมเศร้า ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในสภาวะที่เกิดควบคู่ไปกับความวิตกกังวลและโรคเครียดหลังเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจ (PTSD)
ยกตัวอย่างในกรณีที่คนขับรถในอเมริกามีความเครียดสะสมจากการขับรถบรรทุก มีหลายรายที่เลือกจะจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งอุตสาหกรรมการขนส่งมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับสี่ ที่พบได้ในช่วงวัยทำงาน
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ขับขี่จำนวนมากประสบกับภาวะ PTSD* หรือความวิตกกังวลคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันบนท้องถนน ยิ่งอยู่ในอุตสาหกรรมขนส่งนานเท่าไร โอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุก็จะสูงขึ้นเท่านั้น เพราะการได้เห็นการเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ เป็นเรื่องน่าสะเทือนใจอย่างมากและอาจส่งผลให้เกิดภาวะสุขภาพจิตได้
คนขับรถบรรทุกบางคนเผชิญกับความปวดหัวในที่ทำงาน มีสาเหตุมาจากนายหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่ทำงานด้วย บางครั้ง นายหน้าอาจไม่ได้อธิบายรายละเอียดของที่จำเป็นในการรับ-ส่งสินค้า หรือข้อมูลไม่เพียงพอ ก่อนที่จะออกไปส่งสินค้าในแต่ละครั้ง ก่อให้เกิดความหงุดหงิดที่ไม่รู้ข้อมูลทั้งหมด ถึงจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่แต่ทั้งหมดนี้สามารถนำไปสู่ความเครียดต่อคนขับได้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนขับคือ ความกดดันในการส่งของให้ตรงเวลา นอนหลับไม่เพียงพอ และความใจร้อนของคนขับ ล้วนส่งผลต่อสุขภาพจิต
คนขับสามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างไร
โดยทั่วไปก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจาก “เพื่อนร่วมเดินทาง” หากมีเพื่อนร่วมทางที่ดีที่สามารถทำให้คนขับบรรเทาความกดดันหรือความเครียดลงได้ เพื่อนร่วมทางไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นมนุษย์ อาจจะเป็นสัตว์เลี้ยงก็ได้ นอกจากนี้การทำจิตใจสดใสตลอดเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การฟังเพลงทำให้สมองผ่อนคลายได้ นอกจากนี้เราได้ค้นหาวิธีที่จะบรรเทาความวิตกกังวลของผู้ขับขี่ที่ทำให้การขับรถบรรทุกส่งของไม่เครียดเกินไป
- พบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานหรือครอบครัวบ้าง
- ในช่วงพักรถโทรหาครอบครัวหรือคุยกับเพื่อนร่วมงาน
- ตั้งสติ ควบคุมตัวเองให้อยู่กับปัจจุบันมากที่สุด
- ทำกิจกรรมฟื้นฟูจิตใจ เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ปลูกต้นไม้ ฯลฯ
- ฝึกหายใจ การฝึกหายใจเป็นระบบจะสามารถลดความเครียดได้
- ก้าวข้ามความคิดลบ ๆ ของคนอื่น
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

เมื่อต้องเผชิญภาวะ PTSD ควรทำอย่างไร
เนื่องจากเป็นภาวะที่มีต้นเหตุมาจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้นเมื่อคนขับรถเจอเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรู้สึกอย่างรุนแรง แนะนำว่าควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและขอคำปรึกษา พูดคุยกับผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของได้ หากิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียด เป็นต้น ยิ่งเข้ากระบวนการรักษาเร็วเราก็มีโอกาสเป็นภาวะ PTSD น้อยลงตาม
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามความวิตกกังวลและความเครียดเกิดได้กับทุกอาชีพ ไม่จำเป็นแค่อาชีพพนักงานขับรถบรรทุกเท่านั้น หลายคนไม่กล้าที่เข้าไปพบแพทย์ ต้องลองเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าการเข้าพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เพียงแค่เราทุกข์ใจหรือมีเรื่องราวรบกวนจิตใจที่ถึงขั้นส่งผลต่อชีวิตประจำวันก็สามารถเข้าปรึกษาแพทย์ได้
“เรื่องของการพบหมอจิตเวชเหมือนกับทะเล สิ่งที่พวกเขารับรู้ข้อมูลก็อาจเหมือนหิน โขดหิน แต่ไม่ได้เห็นถึงความสวยงามในทะเลทั้งหมด จริง ๆ แล้ว คนทั่วไปก็สามารถเข้ารับบริการได้ เช่น นอนไม่ค่อยหลับ ไม่สบายใจ เครียด มีปัญหา ไม่มีสมาธิ ก็สามารถมาปรึกษาได้”
แพทย์หญิงปวีณา แพพานิช จิตแพทย์ โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์
เพิ่มเติม:
PTSD เป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่งที่จะเห็นภาพเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ ราวกับเครื่องเล่นวิดีโอที่ฉายแต่ภาพเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้เห็นภาพหลอน
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมจาก: trucknews.com, petcharavejhospital.com, trinitylogistics.com, matichon.co.th
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
- ทำความเข้าใจกับ Just-in-Time ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี
- Last Mile Robots สุดยอดเทคโนโลยีการขนส่งไมล์สุดท้าย
- รู้จักกับรูปแบบการขนส่งยอดนิยมในประเทศไทย
โดย…เทลเลอร์
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com
เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com