ผู้ขับขี่หลายคนมักมีความเข้าใจแบบผิด ๆ ว่า ความง่วงสามารถควบคุมได้ บ่อยครั้งที่คนขับบางคนฝืนขับรถต่อ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการวูบชั่วขณะ หรือที่เราเรียกกันว่า อาการหลับใน แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ และจากสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่มาจากสาเหตุหลับใน ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง มักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงเทศกาลหยุดยาว หรือวันหยุดยาว โดยเฉพาะเส้นทางที่ต้องขับรถทางไกลหรือขับขี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นวันหยุดยาวนี้ Bus&Truck จึงขอแนะนำเทคนิค ขับรถอย่างไรไม่ให้หลับในมาฝากทุกคน

เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง ป้องกันการหลับใน

– ก่อนเดินทาง 2-3 วัน ให้งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน กาแฟ ชา โกโก้ ฯลฯ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ ส่งผลให้อ่อนเพลียสะสมได้

– นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และนอนให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ 7-9 ชั่วโมง ก่อนเดินทาง 2-3 วัน

– งดดื่มแอลกอฮอล์

– หลีกเลี่ยงยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม หรือ ยากดประสาท เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก เป็นต้น หากเป็นยารักษาโรคที่ต้องกินประจำ ควรปรึกษาแพทย์โดยตรง

– เตรียมของว่างแก้ง่วง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว จะช่วยกระตุ้นประสาทให้สดชื่น หรือหมากฝรั่ง กระตุ้นการหมุนเวียนเลือด ทำให้สมองตื่นตัว เป็นต้น

เผยเทคนิคขับรถยังไง ไม่ให้หลับใน

– ปรับท่านั่งให้ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เกิดการตื่นตัว กระฉับกระเฉง และไม่ควรไม่เอนตัวนอนมากเกินไป เพราะการเอนที่นั่งกึ่งนอนกึ่งขณะขับ จะทำให้ง่วงนอนง่ายขึ้น

– จิบน้ำบ่อย ๆ ช่วยให้กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น

– หากเดินทางไกลควรหยุดพักรถทุกระยะ 150 กม. หรือทุก ๆ 2 ชม.

– ปิดแอร์ เปิดกระจกช่วยได้ ทำให้รู้สึกสดชื่นและกระฉับกระเฉงขึ้น

– ง่วงควรแวะพัก อย่าฝืนขับต่อ แนะนำให้นอนพัก 10-15 นาที หรือลงไปล้างหน้า ยืดเส้นยืดสาย จะช่วยทำให้รู้สดชื่นขึ้นได้

– ฟังเพลงจังหวะสนุก ๆ เพื่อช่วยให้ตื่นตัว

– ชวนคนที่นั่งไปด้วยกันคุยเป็นระยะ ๆ

อย่างที่เราทราบกันดีว่าภาวะหลับในสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ นอนน้อย นอกจากนี้อาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น รูปแบบการใช้ชีวิต ผลข้างเคียงจากการกินยา ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ โรคประจำตัว ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะหลับในได้

เรื่องของการนอนก็เช่นกัน โดยทั่วไปแล้วร่างกายคนเราต้องการเวลานอนโดยเฉลี่ย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน หากพักผ่อนไม่เพียงพอ การอดนอนจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนชั่วโมงที่เราอดนอน สุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อภาวะทางร่างกาย ดังนั้นแล้วทางที่ดีคือควรพักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติตามคำแนะนำที่เรากล่าวไปข้างต้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้

 

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก: safedrivedlt.com

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

โดย…เทลเลอร์

อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่

เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK

เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com

เว็บไซต์งาน : www.BusAndTruckExpo.com

Advertisement