จะเห็นได้ว่าการทำธุรกรรมซื้อขายบนอินเทอร์เน็ต ( E-Commerce) ทั่วโลกเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากจาก วิกฤต Covid-19 หลายธุรกิจมีการปรับตัวมาทำตลาดผ่านรูปแบบออนไลน์กันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พฤติกรรมสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้น และมีผู้ประกอบการรายย่อยเกิดขึ้นใหม่มากขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราจึงเห็นธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์เข้าไปรับแรงหนุนจากตลาดออนไลน์ที่อยู่ในช่วงขาขึ้นเป็นจำนวนมาก
แต่ถึงตอนนี้กลับมีข่าวให้เห็นกันอย่างต่อเนื่องเรื่องธุรกิจขนส่งที่มีปัญหาการขาดทุน อันมาจากแนวโน้มการแข่งขันที่นับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้ BUS & TRUCK เลยขอรวบรวมแนวทางวางกลยุทธ์ธุรกิจขนส่ง ให้ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ หากผู้ประกอบการนำไปประยุกต์ใช้รับรองว่าได้ประโยชน์
- ติดต่อได้อย่างสะดวก
ปัจจุบันบริษัทขนส่งจำนวนมากที่ให้บริการโดยมีโปรโมชั่นหรือบริการเสริมเพื่อดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เข้าถึงให้ง่ายมากที่สุด พร้อมทั้งยังต้องสแตนบายรอตอบคำถามหรือให้คำแนะนำกับลูกค้า ยิ่งแก้ปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
- เจาะตลาดขนส่งสินค้าเฉพาะกลุ่ม
ปัจจุบันมีธุรกิจขนส่งเกิดขึ้นใหม่ในตลาดจำนวนมาก หากผู้ประกอบการจะตีตลาดขนส่งแบบทั่วไปอาจต้องแข่งกับรายใหญ่หลายเจ้าที่ทำตลาดอยู่ก่อนแล้ว แต่หากผู้ประกอบการหันไปเจาะตลาดขนส่งที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้นก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เช่น การขนส่งสินค้าฮาลาล, การขนส่งผักและผลไม้ และการขนส่งควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น (เปิดแนวทางเจาะ ‘ตลาดฮาลาล’ โอกาสสร้างรายได้ของผู้ประกอบการขนส่งไทย หากปรับใช้ได้ประโยชน์ )
- ตั้งราคาให้ลูกค้าเข้าถึงได้
ในกระบวนการตั้งราคาต้องดูจากภาพรวมของราคาท้องตลาดหรือราคาของคู่แข่งที่มีธุรกิจและบริการในประเภทเดียวกัน แล้วค่อยนำราคาเหล่านั้นมาเป็นราคาอ้างอิงตัดสินใจว่าควรตั้งราคาให้สูงกว่า อยู่ระดับใกล้เคียงกัน หรือจะเลือกตั้งราคาให้ต่ำกว่าราคาอ้างอิงนั้นเล็กน้อย เพื่อดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการมากที่สุดก็ได้
4.ใช้โมเดล Green Logistic
กรีนโลจิสติกส์ (Green Logistic) ถือเป็นแนวคิดที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการในมิติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและช่วยประหยัดพลังงาน และเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสเรื่องกรีนโลจิสติกส์ ซึ่งที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ผลักดันและกระตุ้นให้ความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ ผู้บริโภคเองก็ที่มีจิตสำนึกในการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงถือว่ามีส่วนในการสร้างแรงผลักดันให้กับธุรกิจ ส่งผลให้แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อ แรงผลักดันให้กับองค์กร แนวคิดเรื่องความตระหนักและรับผิดชอบต่อสังคม ได้ถูกกล่าวถึงและนำมาใช้มากขึ้นในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโลจิสติกส์
5.ผนึกกำลังกับพันธมิตรออนไลน์
นับตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของโควิด-19 จะเห็นว่ากลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์หันไปจับมือแพลตฟอร์มออนไลน์มาร์เก็ตเพลสรับกระแสออนไลน์ช้อปปิ้ง เช่น ค่ายขนส่งพัสดุสีแดงจับมือกับ App อีคอมเมิร์ซสีส้ม นำไปสู่การเป็นผู้ให้บริการรับส่งพัสดุให้กับผู้ใช้งานของ App อีคอมเมิร์ซสีส้ม เพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดอีคอมเมิร์ซ และยังเสริมศักยภาพธุรกิจออนไลน์ให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่ดีลกับ App นี้ อีกด้วย
- สร้างความน่าเชื่อถือ
ผู้ประกอบการขนส่งต้องมีแนวทางการพัฒนามาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งที่ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันต้องมีการตรวจสอบ ประเมินผล โดยผ่านระบบการรับรองที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของสังคมลดต้นทุนในด้านการบริหารจัดการ โดยมีการประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เช่น “ระบบมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก หรือ มาตรฐาน Q Mark” ที่มีข้อกำหนดต่างๆ ที่ครอบคลุมการประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกใน 5 ด้าน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ด้านองค์กร, ด้านปฏิบัติการขนส่ง,ด้านพนักงาน, ด้านยานพาหนะ และด้านลูกค้าและภายนอก
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
- 10 วิธีคิดพื้นฐานที่ผู้ประกอบการขนส่งมือใหม่ต้องเริ่ม เพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
- ‘ผู้ประกอบการขนส่ง’ กับการพัฒนาศักยภาพด้านบริหาร ทำอย่างไร? ไม่ให้ติดกับดักรั้งธุรกิจเติบโต
- ‘ผู้ประกอบการขนส่ง’ ต้องวางกลยุทธ์อย่างไร? เพื่อให้เกิดการใช้รถอย่างมีประสิทธิภาพ
อ่านข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวในแวดวงนี้ก่อนใครได้ที่นี่
เฟซบุ๊ก : BUS & TRUCK
เว็บไซต์ข่าว : www.BusAndTruckMedia.com