จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและวิถีชีวิต นำไปสู่ New normal โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เน้นการมีมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ และการนำเข้าส่งออกสินค้า ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ความสำคัญกับมาตรการด้านสาธารณสุข และการบริหารจัดการความเสี่ยงมีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยต้องมีความต่อเนื่อง รัฐบาลจึงมีกำหนดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (อ้างอิง https://www.nesdc.go.th/download/document/logistic/Thailand%20Logistics%20Action%20Plan%202023-2027%20(Public%20Version).pdf )

ทั้งนี้  ด้วยการจัดการโลจิสติกส์และชัพพลายเชนในปัจจุบัน มีบทบาทต่อกรพัฒนาทุกอุตสาหกรรมทั้งในและนอกประเทศการศึกษาและเข้าใจหลักแนวคิดด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของธุรกิจ การนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและวิจัยพัฒนา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรในอนาคต

ระบบโลจิสติกส์กับความสัมพันธ์กับด้านกลยุทธ์

ขณะที่ความสามารถในการแข่งขันและสมรรถนะการทำงานด้านโลจิสติกส์ การดำเนินงานการตลาดที่เชื่อมโยงกันของผู้ประกอบการ มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน สมรรถนะทางการเงิน ประสิทธิภาพการทำงานทางการเงินขององค์กร

หรือความสัมพันธ์ของนวัตกรรมการบริการการจัดส่ง มีผลต่อความสามารถการแข่งขันที่ยั่งยืนขององค์กร และบทบาทของการวางแนวทางการร่วมมือของลูกค้าและคู่ค้า ส่งผลต่อการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การบริการการจัดส่ง แสดงให้เห็นว่าการวางแนวทางเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ วัตกรรม การตลาดมีความสัมพันธ์กับนวัตกรรม

การบริการการจัดส่งที่นำไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์กรและการจัดสรรทรัพยากร เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนการสร้างกลยุทธ์และความสามารถในการแข่งขัน แสดงให้เห็นห่วงโซ่คุณค่าที่นักบริหารคุ้นเคยกันไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบที่พอร์เตอร์ได้นำเสนอไว้เท่านั้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการสามารถคิดสร้างสรรค์ให้เกิดแนวทางและวิธีการใหม่ ในการบริหารองค์กรและซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือกับการแข่งขัน โดยมีแนวทางสร้างกลยุทธ์ ดังนี้

Learning innovation

กลยุทธ์ที่ผสมผสานทั้งภายในสู่ภายนอก (inside-out) และภายนอกสู่ภายใน (outside-in) ด้วยการนำสารสนเทศทั้งหมดมาประมวล และปรับเปลี่ยนห่วงโซ่คุณค่า ให้สอดรับกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม และการแข่งขันทางธุรกิจการปรับเปลี่ยนธุรกิจของบริษัท IBM จากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ สู่บริการที่ปรึกษาด้านระบบงาน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน

Value Innovation

กลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าจากห่วงโซ่คุณค่าเดิมด้วยการสร้างคุณค่าใหม่ หรือเพิ่มมูลคำของสิ่งเดิม เป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่ใช้กัน ด้วยการทำให้ผลิตภัณฑ์ดูดี มีรูปแบบและการออกแบบที่สวยงามน่าใช้ เช่นตัวอย่างนาฬิกาที่มีชื่อเสียง นำเสนอความเป็นแฟชั่นและเป็นเครื่องประดับมากกว่าการใช้เพื่อดูเวลาเท่านั้น

Cost Innovation

กลยุทธ์ที่ตัดหรือลดทอนชิ้นส่วน หรือขั้นตอนต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น ขั้นตอนที่ไม่มีคุณค่าเพิ่ม ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้กระบวนการโดยรวมสั้นลง หรือต้นทุนถูกลง เช่น กรณีของ Tata Motor ที่ผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก ราคาถูกที่สุดในโลก ด้วยการออกแบบใหม่ และตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป เป็นต้น

Volume Innovation

กลยุทธ์ที่ทำให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในห่วงโซ่คุณค่า ขยายขอบเขตออกไป เพื่อรองรับกับปริมาณลูกค่าที่เพิ่มมากขึ้น เช่น กรณีของบริษัท eBay เป็นตัวอย่างที่ดีของกลยุทธ์ที่สามารถรองรับลูกค้า และธุรกรรมจำนวนมากได้ อย่างไม่มีขีดจำกัด

Marketing Innovation

กลยุทธ์แบ่งกระบวนส่วนต้นน้ำและปลายน้ำออกจากกัน โดยส่วนปลายน้ำ ได้แก่ กรตลาด การขาย และการจัดส่ง เป็นต้น ด้วยการค้นหาช่องทางและวิธีการทางการตลาดแบบใหม่ ๆ ที่ทำให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้ง่ายขึ้น

Advertisement